โรคอารมณ์แปรปรวน เกิดจากยีน

โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorder; BPD) หรือ manic-depressive illness เป็นหนึ่งความผิดปกติทางจิตที่รุนแรง เกิดขึ้นกับคนหลายล้านคนทั่วโลก ทำให้คนมีอาการซึมเศร้าสลับกับร่าเริง เมื่อซึมเศร้าจะเกิดอาการดื้อดึง มีอาการเศร้าหรือสิ้นหวังเป็นเวลานาน ในขณะที่ร่าเริงจะมีอาการตื่นตัวจนเกินเหตุ มีความคิดผุดขึ้นมามากมาย ความต้องการนอนลดลง และบางครั้งอาจควบคุมพฤติกรรมของตนเองไม่ได้ มีอาการเพ้อ หรืองมงาย คาดว่าเกิดจากการแปรปรวนของปฏิกิริยาที่สลับซับซ้อนของยีนหลายตัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม


ความก้าวหน้าด้านการวิจัยและการรักษาถูกจำกัดไว้ที่การขาดแคลนสัตว์ทดลองที่เหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างต้นแบบโดยใช้พันธุวิศวกรรมสร้างความบกพร่องกับยีน GluR6 และจากการวิจัยด้านความผิดปกติของอารมณ์ ชี้ให้เห็นว่าระบบ glutamatergic อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดความผิดปกติทางอารมณ์

แม้ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เข้าใจบทบาทของยีน GluR6 ต่อการควบคุมความแปรปรวนของอารมณ์ ยิ่งไปกว่านั้นยีนที่จับกับตัวรับ GluR6 ก็ถูกนำไปเชื่อมโยงกับการบำบัดกระบวนการคิดฆ่าตัวตายด้วยการศึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์ของยาแก้โรคซึมเศร้า ได้มีการให้ข้อสังเกตว่า ผู้ที่มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวนจะมีอาการซึมเศร้าได้ง่าย และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้


นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาหนูในหลายสายพันธุ์เปรียบเทียบหนูที่ไม่มียีน GluR6 กับหนูทั่วไปอย่างต่อเนื่อง พบว่าหนูที่ไม่มียีน GluR6 แสดงอาการหลายอย่างออกมาหลายอย่าง มันจะกระตือรือล้นมากขึ้นในการทดสอบหลายครั้ง และมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างมากต่อแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในสัตว์ทดลองเพื่อหาภาวะไฮเปอร์แอคทีฟ (hyperactivity) หนูกลุ่มนี้ยังแสดงอาการกระวนกระวายเล็กน้อยและมีพฤติกรรมชอบความหวาดเสียวและมีพฤติกรรมซึมเศร้าน้อยลง นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มแสดงความก้าวร้าวมากขึ้นด้วย

โรคอารมณ์แปรปรวนมักรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์ หรือที่รู้จักกันดีคือ ลิเธียม นักวิจัยพบว่าการรักษาโรคอารมณ์แปรปรวนด้วยลิเธียมช่วยลดภาวะไฮเปอร์แอคทีฟ การแสดงอาการก้าวร้าว และภาวะชอบความหวาดเสียวในหนูที่ไม่มียีน GluR6 เมื่อทดสอบทางชีวเคมี ก็ชี้ให้เห็นว่า ยีน GluR6 มีบทบาทที่เป็นเอกลักษณ์ต่อการควบคุมอาการคลุ้มคลั่ง หนูต้นแบบที่ไม่มียีน GluR6 ทำให้นักวิจัยเข้าใจโรคอารมณ์แปรปรวนดีขึ้น อาจนำไปสู่วิธีรักษาแบบใหม่ได้ และหากรักษาในหนูได้สำเร็จก็อาจนำมาใช้กับคนได้ด้วย



ที่มา
http://www.sciencedaily.com/releases/2008/03/080312081256.htm